การจัดตั้งบริษัทสำหรับชาวต่างชาติ

ช่วยเหลือทุกด้านเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทโดยชาวต่างชาติ, ขอวีซ่าประกอบธุรกิจ มีเจ้าหน้าที่รองรับ 12 ภาษา

เกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทโดยชาวต่างชาติ

ก่อนอื่นต้องขออธิบายเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทโดยชาวต่างชาติค่ะ

คิดว่าการที่ชาวต่างชาติจะตั้งบริษัทเป็นอะไรที่ลำบากไหมคะ

การตั้งบริษัทโดยชาวต่างชาตินั้นขั้นตอนไม่แตกต่างจากชาวญี่ปุ่นเลยค่ะ
สิ่งที่สำคัญคือการเป็นประธานบริษัทได้นั้นต้องมีวีซ่า
ซึ่งเดี๋ยวจะอธิบายต่อไปทีหลังนะคะ


1. รูปแบบธุรกิจ

มี 2 ประเภท คือ ส่วนบุคคลและนิติบุคคล (ในที่นี้อธิบายเกี่ยวกับนิติบุคคล)


2. ประเภทของนิติบุคคล

นิติบุคคลนั้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ อย่างแรกคือนิติบุคคลที่แสวงหาผลกำไร อีกประเภทหนึ่งคือนิติบุคคลที่ไม่แสวงหาผลกำไร  และยังมี
องค์กรNPO, สมาคม และมูลนิธิ


3. และรูปแบบ

รูปแบบมี 4 ชนิด ได้แก่ บริษัท, บริษัทจำกัด, ห้างหุ้นส่วนและห้างหุ้นส่วนจำกัด
โดยปกติแล้วหากไม่ได้มีสถาณการณ์พิเศษใดๆ ทางเราแนะนำรูปแบบบริษัท ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมาห้างหุ้นส่วนเริ่มเพิ่มมากขึ้น ท่านสามารถอ่านทำความเข้าใจตารางเปรียบเทียบบริษัท, บริษัทจำกัด, ห้างหุ้นส่วนได้ด้านล่างเพื่อประกอบการตัดสินใจ

เปรียบเทียบชนิดของบริษัท

  บริษัท ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน(จำกัด) ห้างหุ้นส่วน
รูปแบบ บริษัท มีหุ้น หุ้นส่วน หุ้นส่วน
ผู้ลงทุน ผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 1 รายขึ้นไป หุ้นส่วนตั้งแต่ 1 รายขึ้นไป หุ้นส่วนตั้งแต่ 1 รายขึ้นไป
สถานะเป็นนิติบุคคล เป็น เป็น ไม่เป็น
การกำหนดรูปแบบองค์กร มีข้อกำหนดการประชุมผู้ถือหุ้น,แต่งตั้งกรรมการบริษัท กำหนดตามหนังสือบริคณห์สนธิ กำหนดตามหนังสือบริคณห์สนธิ
การกำหนดข้อบังคับภายในองค์กร ต้องมีกรรมการบริษัท 1 คน,(ตามกฎหมายบริษัท)
กรรมการกำกับดูแล 1 คน
การประชุมหุ้นส่วน ไม่มีข้อจำกัด
(การตัดสินใจเป็นไปตามเสียงข้างมาก)
การประชุมหุ้นส่วน
ระยะเวลาประจำตำแหน่งกรรมการ มากที่สุด 10 ปี ไม่มี ไม่มี
(ต้องมีการเลือกตั้งใหม่)
การเปิดขายหุ้นแก่สาธารณชน ทำได้ ไม่ได้ ไม่ได้
เปิดเผยงบประมาณ ต้อง ไม่ต้อง ไม่ต้อง
รับรองหนังสือบริคณห์สนธิ ต้องมีการรับรองโดยโนตารีพับลิค ไม่ต้อง ไม่ต้อง
ค่ารับรองหนังสือบริคณห์สนธิ ค่ารับรอง 50,000- 0 0
อากรสแตมป์ 40,000- 40,000- 40,000-
การจดทะเบียนบริษัท 150,000- 60,000- 60,000-
(ภาษีหนังสือจดทะเบียน)
ผู้รับผิดโดยจำกัดและ
ผู้รับผิดโดยจำกัดโดยอ้อม
รับผิดเฉพาะภายในจำนวนหุ้นที่ตนถือ หุ้นส่วนทุกคนเป็นผู้รับผิดโดยจำกัด
(ผู้รับผิดโดยจำกัดโดยอ้อม)โดยรับผิดเฉพาะที่ตนเองลงทุน
หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดโดยไม่จำกัดต่อเจ้าหนี้
การจัดสรรกำไรและอำนาจ,
รูปแบบการเสียภาษี
ผลกำไร, อำนาจจัดสรรตามจำนวนที่ลงทุน ผลกำไร, อำนาจจัดสรรโดยอิสระ ผลกำไร, อำนาจจัดสรรโดยอิสระ
แยกส่วนระหว่างทุนที่มาจากการลงทุนของผู้ลงทุนจำกัดความรับผิด(ผู้ลงทุน)และการบริหาร(ฝ่ายบริหาร) โดยผลกำไรที่ได้จากการบริหารธุรกิจจะจัดสรรแก่ผู้ลงทุน หุ้นส่วนเป็นทั้งผู้ลงทุน(ผู้ถือหุ้น)และกรรมการ(บริหาร)
*1. สามารถเปลี่ยนรูปแบบเป็นบริษัทได้ในอนาคต
*2. ไม่สามารถเลือกตามระบบของสหรัฐอเมริกา (Pass Through)ให้ผลกำไรของห้างฯเป็นรายได้ของห้างฯ(ภาษีคณะบุคคล)หรือเป็นรายได้ของหุ้นส่วน(ภาษีบุคคล)ได้ จะเป็นภาษีนิติบุคคลเท่านั้น
*1.ไม่ต้องชำระภาษีนิติบุคคลแต่จะเป็นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลของหุ้นส่วน/สมาชิก(ภาษีPass Through)
*2. ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นบริษัทได้
การหักกลบลบหนี้กำไรขาดทุน ได้ ได้ แต่สามารถคำนวณร่วมหักกลบกับกำไรขาดทุนของธุรกิจส่วนตัวอื่นของสมาชิกได้
การบริหารธุรกิจ ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป หุ้นส่วนสมาชิกเป็นผู้ดำเนินการ หุ้นส่วนสมาชิกเป็นผู้ดำเนินการ
ประกันสังคม เข้าระบบได้, เป็นหน้าที่ เข้าระบบได้, เป็นหน้าที่ แต่หากเป็นบริษัท 1 คนสามารถเข้าระบบประกันสุขภาพของรัฐและระบบเงินบำนาญรัฐได้ เข้าระบบได้

4. ตารางเปรียบเทียบกรณีต่างๆ ของนิติบุคคลต่างชาติที่เข้ามายังประเทศญี่ปุ่น

  กรณีสำนักงานมีพนักงานประจำ กรณีตั้งสาขาในประเทศญี่ปุ่น กรณีตั้งบริษัทในประเทศญี่ปุ่น
 (บริษัทลูก)
ชื่อ ไม่มีข้อจำกัด เหมือนบริษัทแม่ ไม่มีข้อจำกัด
สถานะนิติบุคคล ไม่เป็น เป็น เป็น
จดทะเบียน ไม่ จด จด
หนังสือบริคณห์สนธิ ไม่มี (สำนักงานปฏิบัติกิจการตามหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทแม่) ไม่มี (สำนักงานปฏิบัติกิจการตามหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทแม่) มี (ปฏิบัติกิจการตามหนังสือ
บริคณห์สนธิของบริษัทตน)
ทุนจดทะเบียน ไม่มี ไม่มี ตั้งแต่ 1 เยนขึ้นไป
สิทธิและหน้าที่ สัญญาที่กระทำในนามของตัวแทนจะมีผลผูกพันตัวแทนผู้นั้นโดยส่วนตัว มีผลผูกพันบริษัทแม่ มีผลผูกพันบริษัทในประเทศญี่ปุ่น
การประกอบกิจการ ทำไม่ได้
ยกเว้น การเก็บข้อมูล,
การโฆษณา,การวิจัยตลาด,
การซื้อและเก็บสินค้า
ทำได้ ทำได้
การตัดสินใจ เป็นไปตามบริษัทแม่ เป็นไปตามบริษัทแม่ บริษัทญี่ปุ่น(บริษัทลูก)ตัดสินใจ
การฟ้องร้องบังคับคดี โดยหลักแล้วจะฟ้องร้องบังคับคดีต่อตัวแทนสำนักงานได้ แต่ก็มีกรณียกเว้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ฟ้องร้องบังคับคดีบริษัทแม่ได้ โดยหลักแล้วไม่สามารถ
ฟ้องร้องบังคับคดีกับบริษัทแม่ได้
วีซ่าของตัวแทน วีซ่าย้ายที่ทำงานภายในองค์กร
*มีบางกรณีเป็นวีซ่าบริหารธุรกิจ
วีซ่าย้ายที่ทำงานภายในองค์กร
*จำเป็นต้องมีตัวแทนที่มีที่อยู่ในญี่ปุ่น มีบางกรณีเป็นวีซ่าบริหารธุรกิจ
วีซ่าบริหารธุรกิจ
บัญชีธนาคาร
ของนิติบุคคล
ทำไม่ได้
แต่ธนาคารบางแห่งอนุญาตให้เปิดบัญชีในนามบุคคลโดยใส่ชื่อธุรกิจได้
*ชื่อธุรกิจ หมายถึง ชื่อบริษัทหรือชื่อสำนักงาน โดยชื่อบัญชีเป็น "ชื่อธุรกิจ+ชื่อตัวแทน" ทั้งนี้การอนุญาตขึ้นอยู่กับธนาคาร จึงควรระวัง
ทำได้ ทำได้
การส่งเงิน
กลับประเทศ
ไม่มีปัญหา การส่งกำไรกลับประเทศโดยหลักแล้วไม่ต้องชำระภาษี
การรับ-ส่งกำไรระหว่างบริษัทต่างประเทศและสาขาในประเทศญี่ปุ่นไม่ต้องชำระภาษีหัก ณ ที่จ่าย
การส่งกำไรของบริษัทญี่ปุ่นกลับประเทศโดยหลักแล้วต้องชำระภาษี 20% แต่อาจสามารถลดได้ตามสนธิสัญญาทางภาษี
ปีงบประมาณ ตามบริษัทแม่ ตามบริษัทแม่ บริษัทญี่ปุ่น(บริษัทลูก)กำหนดเอง
การชำระภาษีและการแสดงบัญชีทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายจะรวมอยู่ในบัญชีของบริษัทแม่ การจัดการจะเป็นไปตามมาตรฐานทางบัญชีของประเทศนั้นๆ รายได้ที่ได้จากการประกอบกิจการจากการครอบครองสถานประกอบการถาวร(PE) ต้องชำระภาษีนิติบุคคล, ภาษีท้องถิ่น, ภาษีธุรกิจและภาษีมูลค่าเพิ่ม
*1. มีมาตรการที่อนุญาตให้นำภาษีนิติบุคคลที่ชำระในประเทศญี่ปุ่นไปหักออกจากภาษีนิติบุคคลที่ต้องชำระในประเทศตนได้
*2. เกณฑ์ในการพิจารณาขนาดของนิติบุคคลขนาดกลางและขนาดเล็กและภาษีท้องถิ่นนิติบุคคลตามขนาด/ภาษีขั้นต่ำดูจากจำนวนทุนจดทะเบียนของบริษัทต่างชาตินั้นๆ
*3. ในกรณีที่สาขาในญี่ปุ่นขายหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ อีกฝ่ายต้องชำระภาษีหัก ณ ที่จ่าย
*4. ภาษีระหว่างประเทศของนิติบุคคลต่างชาติ(สาขาในญี่ปุ่น) ค่อนข้างซับซ้อน รายละเอียดโปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
เงินได้จากทุกแห่งจะต้องชำระภาษี รายการทรัพย์สินของบริษัทญี่ปุ่น (บริษัทลูก) จะถูกคำนวณรวมกับบริษัทในต่างประเทศ(บริษัทแม่) *มีกรณียกเว้น
การจัดการบัญชี
กำไรและขาดทุน
โดยหลักสามารถทำได้
(หากมีการขาดทุนสามารถหักกลบลบหนี้กับกำไรของบริษัทแม่ได้)
สามารถทำได้
(คำนวณเงินได้รวมกับบริษัทแม่ได้)
ทำไม่ได้(เนื่องจากจัดการบัญชีของนิติบุคคลญี่ปุ่นแล้ว จึงไม่สามารถหักกลบลบหนี้กับบริษัทแม่ได้)
ประกันสังคม ไม่บังคับ แต่หากมีพนักงานตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปต้องเข้าระบบ เป็นหน้าที่ เป็นหน้าที่
ประกันอุบัติภัย
แก่ลูกจ้าง
เป็นหน้าที่ เป็นหน้าที่ เป็นหน้าที่
ประกันการจ้างงาน เป็นหน้าที่ เป็นหน้าที่ เป็นหน้าที่

5. ข้อดีของการจัดตั้งบริษัท

1. มีความน่าเชื่อถือสูง ได้รับความเชื่อใจจากสถาบันการเงินหรือคู่ค้า รวมถึงการรับสมัครพนักงาน
2. มีค่าใช้จ่ายทางธุรกิจ, ยอดขาดทุนที่สามารถนำไปหักลดหย่อนเงินได้พึงประเมินได้มากกว่าธุรกิจส่วนบุคคล เช่น เงินชดเชยการออกจากงาน, ค่าประกันชีวิต(มีเพดานขั้นสูงสุด), ค่าประกันชีวิตแบบกำหนดช่วงระยะเวลา
3. สามารถเข้าระบบประกันสุขภาพและเงินบำนาญของรัฐบาลได้
4. มีการลดอัตราภาษี
5. นิติบุคคลสามารถใช้ยอดขาดทุนเพื่อประโยชน์ทางภาษีได้นานกว่า
6. สามารถขอวีซ่าประกอบธุรกิจ/บริหารธุรกิจสำหรับคนต่างชาติได้ง่ายกว่า
7. ค่าตอบแทนของพนักงานโดยหลักแล้วจะถือเป็นค่าใช้จ่าย
8. สามารถเปลี่ยนผู้บริหารได้ หากมีกรณีใดๆ เกิดขึ้นสามารถแบ่งและส่งมอบหุ้นต่อได้

สถานประกอบการถาวร (PE) หมายถึง สถานประกอบการถาวร เช่น สาขา โรงงาน สถานที่เฉพาะอื่นๆ เพื่อใช้ประกอบการหรือตัวแทน สถานประกอบการถาวร (PE)แบ่งออกเป็น [สาขาPE] [อาคารPE] [ตัวแทนPE] (ตัวอย่าง) 1. ไม่ได้จัดตั้งสาขาในประเทศญี่ปุ่นแต่ดำเนินธุรกิจโดยผ่านบริษัทตัวแทน กรณีนี้บริษัทตัวแทนจะถือว่าเข้าข่ายเป็นPE 2.บริษัทใหม่ดำเนินธุรกิจในประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านทางบริษัทลูก กรณีนี้บริษัทลูกจะเข้าข่ายเป็นPE ในแง่ภาษีระหว่างประเทศ มีคำกล่าวว่า "ถ้าไม่ใช่PEก็ไม่เสียภาษี" ดังนั้นในกรณีที่ไม่มีPEในประเทศญี่ปุ่น รายได้จากการประกอบกิจการก็ไม่ต้องเสียภาษีในประเทศญี่ปุ่น *ทั้งนี้ยกเว้นกรณีการโอน-รับโอนอสังหาริมทรัพย์ในประเทศญี่ปุ่น

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร.03-5453-6931
จากต่างประเทศ +81-3-5453-6931
(วันจันทร์-ศุกร์:10:00~18:00)
(วันเสาร์:11:00~17:00)
หยุดให้บริการในวันเสาร์เป็นการชั่วคราวเนื่องจากมาตรการป้องกันการระบาดของ COVID-19
แบบฟอร์มอีเมลคลิกที่นี่
หากแจ้งว่าเห็นจากเว็บไซต์ของเรา จะสามารถให้คำแนะนำได้รวดเร็วขึ้น

บริษัทในเครือPGและบริษัทคู่ค้า

Related Services

PG Group & Partners

top▲